Type-paper
ส่วนประกอบของหนังสือ เรียงลำดับให้ถูกต้อง (ฉบับเข้าใจง่าย)
On พฤษภาคม 16, 2016 | 0 Comments

ส่วนประกอบของหนังสือ ส่วนต่างๆ ของหนังสือ เรียงลำดับกันอย่างไรให้ถูกต้อง

ส่วนประกอบของหนังสือ มีอะไรบ้าง เรียงลำดับกันอย่างไรให้ถูกต้อง บทความนี้เรียบเรียงมาจากประสบการณ์ของโรงพิมพ์หนังสือ ให้อยู่ในรูปแบบที่อ่านง่าย เข้าใจง่าย เพื่อเป็นแนวทางแก่ผู้ที่สนใจในการทำหนังสือ ที่เป็นมาตรฐาน โดยส่วนต่างๆ ของหนังสือ จะประกอบไปด้วย

ส่วนแรก ส่วนปกของหนังสือ

  1. ปกหนังสือ ตามมาตรฐานแล้ว ส่วนของปกหนังสือจะมีความหนา มีหน้าที่ในการยึดหนังสือทั้งเล่มให้มีความคงทน แข็งแรง และแสดงรายละเอียดที่สำคัญของหนังสือ เช่น ชื่อหนังสือ, ชื่อผู้แต่ง, ปีที่พิมพ์, สำนักพิมพ์, อื่นๆ
    0ปกหนังสือ
  2. สันหนังสือ หนังสือแต่ละเล่มจะมีสันหนังสือที่หนาหรือบางเท่าใดก็ขึ้นอยู่กับจำนวนหน้าของหนังสือเล่มนั้น ส่วนมากจะนิยมพิมพ์ ชื่อหนังสือ และชื่อผู้เขียน ไว้เป็นสำคัญ
    0สันปกหนังสือ

ส่วนที่สอง ส่วนประกอบตอนต้นของหนังสือ

  1. ปกใน ส่วนของปกในจะเป็นส่วนที่มีรายละเอียดทางบรรณานุกรมของหนังสือครบถ้วนที่สุด ได้แก่ ชื่อผู้แต่ง, ชื่อหนังสือ, ครั้งที่พิมพ์, สถานที่พิมพ์, สำนักพิมพ์, ปีที่พิมพ์
    1.ปกใน
  2. หน้าลิขสิทธิ์ จะอยู่หน้าหลังของปกใน มีรายละเอียดดังนี้
    – ข้อความสงวนลิขสิทธิ์ตามพ.ร.บ.ลิขสิทธิ์
    – ข้อมูลบรรณานุกรมหนังสือ
    – เลขมาตรฐานสากลประจำหนังสือ Isbn
    2หน้าลิขสิทธิ์
  3. คำนำ มีรายละเอียดที่จะต้องอธิบายถึงวัตถุประสงค์ของหนังสือ รวมไปถึงตอนท้ายอาจกล่าวคำขอบคุณถึงผู้ที่มีส่วนช่วยด้านต่างๆของหนังสือเล่มนั้นได้ด้วย
    3คำนำ
  4. บทนำ มีรายละเอียดโดยย่อของหนังสือ เพื่อให้ผู้อ่าน มีความเข้าใจก่อนที่จะอ่านหนังสือเล่มนั้นๆ
    4บทนำ
  5. หน้าสารบัญ มีการเรียบเรียงสารบัญ ให้ผู้อ่านสามารถค้นหาบทที่จะอ่านได้
    5สารบัญ
  6. หน้าสารบัญภาพ สารบัญตาราง มีการเรียบเรียง เพื่อให้ผู้อ่านสามารถค้นหารูปภาพ และตารางในหนังสือได้
    5สารบัญภาพ
    5สารบัญ_ตาราง

ส่วนที่สาม ส่วนของเนื้อเรื่อง

  1. เนื้อหา ผู้เขียนจะเรียบเรียงหนังสือให้เนื้อหาแยกออกเป็นบทๆเพื่อความสะดวกกับผู้อ่าน
    6เนื้อหา1
    6เนื้อหา2

ส่วนที่สี่ ส่วนประกอบตอนท้าย

  1. ภาคผนวก คือส่วนเสริมของเนื้อหาที่เกี่ยวข้อง สามารถนำมาใส่ในภาคผนวกนี้ใน
    7ภาคผนวก1
    7ภาคผนวก2
  2. อภิธานศัพท์ คือส่วนเสริมแปลศัพท์ในเนื้อเรื่อง ให้ผู้อ่านเข้าใจ
    8อภิธานศัพท์
  3. บรรณานุกรม คือส่วนรายละเอียดทางบรรณานุกรมของเอกสารต่างๆที่ประกอบการเรียบเรียงหนังสือนั้นๆ ตามลำดับตัวอักษร
    9บรรณานุกรม
  4. ดรรชนี หรือบัญชีค้นคำ จะแตกต่างกับสารบัญตรงที่นำหัวข้อย่อย หรือคำสำคัญ มาเรียบเรียงตามลำดับตัวอักษร
    10ดรรชนี